Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
การจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลวัง
30 พฤศจิกายน 542

5367


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีจัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง นั้น

Ø           โรงเรือน หมายถึง บ้าน อาคาร ร้านค้า สำนักงาน ฯลฯ

Ø           สิ่งปลูกสร้าง ตัวอย่าง เช่น ท่าเรือ สะพาน คานเรือ ซึ่งมีลักษณะก่อสร้างติดที่ดินเป็นการถาวร

ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

1.    เจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ยื่นแบบ ภรด. 2  ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน เดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี

2.    พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาแบบฯ แจ้งรายการต่าง ๆ ดังกล่าวไปยังพนักงานเก็บภาษี ให้ 

           พนักงานเก็บภาษีแจ้งรอการประเมิน ภรด. 8 ไปให้ผู้รับประเมินทรัพย์สิน

3.    เมื่อผู้รับประเมินได้รับแจ้งรายการประเมิน ภรด.8 แล้ว ต้องไปชำระภาษีต่อพนักงานเก็บภาษี  

           ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

4.    ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในกำหนด ถือเป็นค่าภาษีค้างชำระต้องเสียเงินเพิ่ม

  

                    เงินเพิ่ม

-  ภายใน  1  เดือน  เพิ่ม  2.5%  ของค่าภาษี

-  ภายใน  2  เดือน  เพิ่ม    5%  ของค่าภาษี

-  ภายใน  3  เดือน  เพิ่ม  7.5%  ของค่าภาษี

-  ภายใน  4  เดือน  เพิ่ม   10%  ของค่าภาษี

 

ถ้าไม่ชำระภาษีและเงินเพิ่มภายใน  4  เดือน นับตั้งแต่ครบ 30 วัน (รับแจ้งประเมิน)  ให้พนักงาน   เก็บภาษีรายงาน ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทราบ เพื่อสั่งให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของผู้ค้างชำระภาษี มาขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระ ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องขอให้ศาลสั่ง  (มาตรา 44) 

 

 

 

 

 

ภาษีป้าย

ป้าย หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบกิจการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือบริการอื่น ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้บนวัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

                เจ้าของป้าย ซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย จะต้องยื่นแบบภายใน เดือน มีนาคม ของทุกปี  (แบบ ภ.ป.1)

การประเมินค่าภาษีป้าย

1.    ป้ายที่แสดงภาษาไทยล้วน คิด  3  บาท ต่อ  500 ตร.ซม.

2.    ป้ายที่มีภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศหรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น คิด 20 บาท  ต่อ 500 ตร.ซม.

3.    ป้ายดังต่อไปนี้ คิด  40 บาท  ต่อ  500 ตร.ซม.

{ ป้ายทีไม่มีอักษรไทย

{ ป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

4.    ป้ายตาม 1. , 2. และ 3. ข้างต้น เมื่อคำนวณแล้วมีอัตราที่ต้องเสียภาษีป้ายต่ำกว่า 200 บาท/ป้าย ให้เสียภาษีป้ายละ200 บาทเป็นอย่างต่ำ

หมายเหตุ  การคำนวณภาษีป้ายให้ใช้ กว้าง ยาว (เซนติเมตร)

เงินเพิ่ม

1.   ไม่ยื่นแบบภายใน 31 มีนาคมของทุกปี ให้เสียเงินเพิ่ม    ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีเว้นแต่ ได้ยื่น

    แบบก่อนที่เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น    ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี

2.     ยื่นแบบไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีน้อยลง  ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ต้องประเมินเพิ่ม

3.    ไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม    ร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี

    เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

  กรณีติดตั้งป้ายใหม่

                                                    ติดตั้งระหว่าง

                                     ม.ค.  - มี.ค.   ให้คิด 100  ของค่าภาษี

                                     เม.ย. - มิ.ย.   ให้คิด  75   ของค่าภาษี

                                                                  ก.ค.  - ก.ย.   ให้คิด  50%    ของค่าภาษี

                                                                 ต.ค.  - ธ.ค.   ให้คิด   25%   ของค่าภาษี

 

 

       

ภาษีบำรุงท้องที่

 

ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินหรือให้ความหมายรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย

                        เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน

การพิจารณาราคาที่ดิน

                        ให้คณะกรรมการพิจารณาตีราคาปานกลางของที่ดินทุกรอบระยะเวลา 4 ปี

 

  

ระยะเวลาการชำระภาษีบำรุงท้องที่

                        ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระภาษีภายใน         เดือน   เมษายน ของทุกปี

 

เงินเพิ่ม

 

1.  ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของเงินที่ต้องเสียภาษี

2.  ยื่นแบบไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินภาษีน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของเงินภาษีที่ประเมินเพิ่ม

3.  ไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปีของเงินที่ต้องเสียภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน